ความรู้ที่ได้รับ
จากการทำ Mind Mapping ของการบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 ทำให้ได้ข้อสรุป ความหมายของวิทยาศาสตร์ ตามความเข้าใจของกลุ่มเรียน 102 ดังนี้
วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษา สืบค้นข้อมูลความจริง ซึ่งเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว หรือธรรมชาติรอบตัว โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การทดลอง การสำรวจ เป็นต้น
- โลก ดาราศาสตร์ สิ่งต่าง ๆ รอบตัว จัดเป็นเนื้อหา สาระ
- สาระที่เด็กควรรู้ได้แก่
- เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
- เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
- ธรรมชาติรอบตัว
- สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
- เนื้อหาในการจัดการเรียนรู้หรือจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก ควรเป็นเนื้อหาที่ใกล้ตัวเด็ก มีผลกระทบกับเด็ก และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น
- กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) จิตวิทยาศาสตร์
- วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
- การกำหนดปัญหา ปัญหาเกิดจากการสังเกต โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย ประกอบกับความช่างคิดช่างสงสัย สัมผัสโดยตรงกับเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อค้นหาข้อมูล และบันทึกข้อมูลที่ได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งการกำหนดปัญหาต้องมีความชัดเจนและสัมพันธ์กับความรู้ ซึ่งต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์
- การตั้งสมมมิตฐาน การคิดหาคำตอบล่วงหน้า ก่อนจะกระทำการทดลองโดยอาศัยการสังเกต ความรู้ และประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน คำตอบที่คิดหาล่วงหน้านี้ยังไม่เป็นหลักการ สมมติฐานหรือคำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้ามักกล่าวไว้เป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม
- การตรวจสอบสมมติฐาน การดำเนินการตรวจสอบสมมติฐาน โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูลทั้งจากการสำรวจ การทดลอง หรือวิธีการอื่น ๆ ประกอบกัน
- การวิเคราะห์ข้อมูล การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต ศึกษาค้นคว้า ทดลอง หรือการรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงมาวิเคราะห์ผล
- การสรุปผลการทดลอง การสรุปผลการทดลอง เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกิดจากการนำเอาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์ผลและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเพื่อนำมาอธิบาย และตรวจสอบดูว่าสมมติฐานที่ตั้งขึ้นถูกต้องหรือไม่
- ทำไมต้องทดลอง ? = เมื่ออยากรู้ และเมื่อเกิดปัญหา เพื่อการนำไปใช้ต่าง ๆ
- การกำหนดขอบข่ายปัญหา เช่น นำไก่สดมา ปัญหาคือ ทำอย่างไรจะได้กินไก่ หรือไก่นำไปทำอะไรได้บ้าง
- การรวบรวมข้อมูล = มันเป็นอย่างไร การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (การทดลอง)
- แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์... จะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง (การเจริญเติบโต) การปรับตัว มีความแตกต่าง มีการพึ่งพาอาศัยกัน และความสมดุล
- เครื่องมือในการเรียนรู้ = ภาษา และคณิตศาสตร์
- เจตคติในการเป็นนักวิทยาศาสตร์
- อยากรู้อยากเห็น
- เพียรพยายาม
- ละเอียด รอบคอบ มีระเบียบ
- มีความซื่อสัตย์
- มีเหตุผล (เชื่อและยอมรับตามเหตุและผล)
- มีใจกว้าง

- ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ได้แก่ เป็นสิ่งที่ตอบสนองกับการดำรงชีวิต สำคัญต่อการสร้างเสริมประสบการณ์
- ประโยชน์ ได้แก่ เกิดความสะดวกสบาย และทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
- การเลียนแบบ การอยากรู้อยากเห็น เป็นพฤติกรรมที่สะท้อนมาจากพัฒนาการ
- การทำงานของสมอง จะสอดคล้องกับพัฒนาการ
- การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (0-2 ปี)
- ยังพูดได้ไม่เป็นประโยค ไม่ใช้เหตุผล (2-4 ปี)
- พูดเป็นประโยค ตอบตามที่ตาเห็น (4-6 ปี)
- วิธีการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ การลงมือกระทำ ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีอิสระในการเล่น ทำด้วยตนเอง, การวางแผนของครู และเกิดขึ้นโดยไม่ได้วางแผน
ทักษะทางวิทยาศาตร์ ได้แก่ ทักษะที่ 1 ทักษะการสังเกต (Observation)
ความหมาย : เป็นวิธีการหาข้อมูลโดยตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การดู การดม การฟัง การชิม และการสัมผัส ทั้งนี้โดยไม่ใส่ความเห็นหรือประสบการณ์เดิมของผู้สังเกตลงไป
ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเป็น ข้อมูลเชิงประจักษ์ทักษะที่ 2 ทักษะการวัด (Measurement)
ความหมาย : เป็นการเลือกและการใช้เครื่องมือ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้เหมาะสม และถูกต้อง โดยมีหน่วยกํากับเสมอทักษะที่ 3 ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)
ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือนความแตกต่าง ความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ทักษะที่ 4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation)
ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือน ความแตกต่างความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
แกมมาออริซานอล Gamma Oryzanol มีคุณสมบัติดังนี้ทักษะที่ 5 การคำนวน (Using Number)
ความหมาย : เป็นการนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้มาคิดคำนวน โดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย
ทักษะที่ 6 การจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)
ความหมาย : เป็นการนำข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยการหาความถี่เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชุดนั้นดีขึ้น โดยการนำเสนอในรูปของตารางแผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟสมการ หรือการเขียนบรรยาย
ทักษะที่ 7 การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)
ความหมาย : เป็นการเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาช่วย
ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Prediction)
ความหมาย : เป็นการาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง โดยอาศัยประสบการณ์ที่เกิดซํ้า ๆ หลักการ กฏ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว ในเรื่องนั้นมาช่วยในการสรุป เช่น การพยากรณ์ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเลข ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตาราง หรือ กราฟ ซึ่งทำได้ 2 แบบ คือ
1. การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูล
2. การพยากรณ์ภายนอกขอบเขตของข้อมูล
ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
ความหมาย : เป็นการคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลอง โดยอาศัยการสังเกตความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นฐาน
ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation)
ความหมาย : เป็นการกําหนดความหมายและขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องการทดลองให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตได้หรือวัดได้ โดยให้คำตอบเกี่ยวกับการทดลองและบอกวิธีวัด
ตัวแปรที่เกี่ยวกับการทดลองนั้น
ทักษะที่ 11 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)
ความหมาย : เป็นการบ่งชี้ตัวแปนต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในการตั้ง สมมติฐานหนึ่งๆ
ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experiment)
ความหมาย : เป็นกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ในการทดลอง ซี่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การออกแบบการทดลอง
2. การปฏิบัติการทดลอง
3. การบันทึกผลการทดลอง
ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making)
ความหมาย : เป็นการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายของข้อมูล ในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ ด้วย เช่น การสังเกต การคำนวน เป็นต้น และการลงข้อสรุป หมายถึง การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด การลงข้อสรุป สามารถทำได้ 2 ระดับ คือ
1. การสรุปในระดับแคบ คือ การสรุปให้อยู่เฉพาะกลุ่มตัวอย่างหรือสิ่งที่นำมาศึกษา
2. การสรุปในระดับกว้าง คือ การสรุปที่ออกนอกขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างแต่เป็นการขยายกว้างไปสู่ประชากรหรือกลุ่มใหญ่ ข้อสรุปนี้มีความเชื่อถือได้น้อยกว่าแบบแรก
The process = กระบวนการ
Importance = ความสำคัญ
Benefit = ประโยชน์
People and Places = บุคคลและสถานที่
Curious = อยากรู้อยากเห็น
การประยุกต์ใช้
- เมื่อรู้วิธีการเรียนรู้ของเด็กแล้ว สามารถทำให้ความรู้และแนวคิดในการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
- การที่เรามีความรู้ ทักษะต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ก็จะทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กอย่างหลากหลาย ตอบสนองความต้องการและการเรียนรู้ของเด็ก เช่น การจัดกิจกรรม 1 เรื่อง แต่สามารถบูรณาการได้หลาย ๆ ทักษะ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีประสบการณ์ที่หลากหลายมากขึ้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจารย์มอบหมาย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์มากขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน และให้คำปรึกษาต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน เมื่อสงสัย ไม่เข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ มีแนวคิดที่หลากหลาย มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตรงต่อเวลา และสอนเข้าใจ เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น แล้วค่อยยกตัวอย่าง อธิบายเพิ่มเติม